วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทวิเคราะห์

บทวิเคราะห์

1.ตัวละคร

ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดและสารต่างๆ โดยเสนอผ่านมุมมองของประพันธ์ซึ่งเป็นผู้เล่าเรื่องและตัวละครเหล่านี้  ทำให้เรารู้จักตัวละครอย่างลึกซึ้ง



 2. ฉาก

    ในเรื่องนี้เป็นสมัยที่คนไทยโดยเฉพาะคนชั้นสูงเพิ่งได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตกใหม่ สภาพบ้านเมืองมีความเจริญแบบชาวตะวันตก

3.กลวิธีการแต่ง

 หัวใจของชายหนุ่ม เป็นนวนิยายขนาดสั้น นำเสนอในรูปแบบของจดหมาย

4. คุณค่าด้านปัญญาและความคิด

4.1 เป็นรอยต่อวัฒนธรรม

4.2 ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน

4.3 อย่าลืมตัว

4.4 การศึกษาดีช่วยให้ความคิดดี

4.5 การมีภรรยาคนเดียว

5 คุณค่าด้านความรู้

  นวนิยายเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมในเรื่องการแต่งการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้หญิง เริ่มไว้ผมยาว ค่อยๆเลิกนุ่งโจงกระเบน และเราจากสังคมชั้นสูง

คำศัพท์

คำศัพท์
ความหมาย
.กรมท่าซ้าย
กรมท่า หมายถึง  ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งสังกัดกรมพระคลัง  มีหน้าที่เกี่ยวกับต่างประเทศและปกครองเมืองท่า 
.ครึ
เก่า     ล้าสมัย
.คลุมถุงชน
ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน
.เดินเข้าท้ายครัว
สำนวนว่า เข้าท้ายครัว โดยทั่วไปหมายความว่า เข้าทางภรรยา ในที่นี้หมายถึงใช้ความ รู้จักคุ้นเคยเป็นการส่วนตัวเป็นเครื่องให้ได้งานทำ
.เรี่ยม
สะอาดหมดจน เอี่ยมอ่อง วิเศษ  ดีเยี่ยม
.หมอบราบ
ยอมราบโดยไม่ขัดขืน
.หอยจุ๊บแจง
ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว เปลือกผิวขรุขระ รูปร่างค่อนข้างยาง ปลายแหลม สีเทาอมดำ หอยจุ๊บแจงจะอ้าฝาเปิดปากในน้ำนิ่ง แต่เมื่อสิ่งใดมากระทบ ก็จะปิดฝาหอยซ่นตัวทันที ในที่นี้หมายถึง ผู้หญิงที่ขี้อาย ไม่เข้าสังคม
.หัวเมือง
ต่างจังหวัด
.หัวนอก
คนที่นิยมแบบฝรั่ง   มีความคิดแบบฝรั่ง
๑๐.หลวง
บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าขุนและต่ำกว่าพระ

เนื้อเรื่อง

๔.เนื้อเรื่่อง

                                       ตัวอย่าง   ฉบับที่ (๑๘)

                                                                                  บ้านเลขที่ 00 ถนนสี่พระยา

                                                                          วันที่ ๑๓ เมษายน,พ.ศ.๒๔๖-

ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก.

          ฉันต้องรีบบอกข่าวดีมาให้ทราบ. แม่ไรได้ตกลงแต่งงานแล้วกับหลวงพิเศษผลพานิช,พ่อคามั่งมี, ซึ่งนำบทว่าเป็นโขคดีสำหรับหล่อน. เพราะอาจจะหวังได้ว่าจะได้มีความสุขต่อไปในชีวิต.จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป,แต่จะหวังไว้ว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง,คือ”ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน.”แต่ถึงจะใจไม่ช่วงเขาก็พอมีเงินพอที่จะซื้อความสุขให้แม่อุไรได้.

           การที่แม่อุไรได้ผัวใหม่เป็นตัวเป็นตนเสียแล้วเช่นนี้ ทำให้ฉันเองรู้สึกความตะขิดตะขวางห่วงใย.และรู้สึกว่าอาจจะคิดหาคู่ใหม่ได้โดยไม่ต้องมีข้อควรรังเกียจรังงอนเลย.พ่อประเสริฐเป็นเพื่อนรักกันที่สนิทสนมที่สุด,เพราะฉะนั้นฉันขอบอกตรงๆ ว่า ฉันได้รักผู้หญิงอยู่รายหนึ่งแล้ว,ซึ่งฉันหวังใจว่าจะได้เป็นคู่ชีวิตต่อไปโดยยั่งยืนจริงจัง.หล่อนชื่อนางสาวศรีสมาน,แล้วเจ้าคุณพิสิฐกับพ่อของฉันก็ชอบกันมาก.ฉะนั้นพอพ่อประเสริฐกลับเข้ามาถึงกรุงเทพฯก็เตรียมตัวไว้เป็นเพื่อนบ่าวที่เดียวเถิด!

                                                                                                                          จากเพื่อนผู้กำลังปลื้มใจ.

                                                                                                                          หลวงบริบาลบรมศักดิ์

ลักษณะคำประพันธ์

๓.ลักษณะคำประพันธ์
          หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
 ๑.หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓0 มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ.ศ.ไว้                                  
 ๒.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “พ่อประเสริฐเพื่อนรัก”

ประวัติผู้แต่ง

๒.ประวัติผู้แต่ง
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ

หัวใจชายหนุ่ม

ประวัติความเป็นมา
        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต”เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน


Image result for หัวใจชายหนุ่ม